ล้านนา สถานที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ ทั้งจากอดีต มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของความเชื่อ เพราะความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ที่ตั้งอยู่ในฐานของการใช้ชีวิต ก็มักจะมีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องผีผสมผสานกับความเป็นพุทธได้อย่างลงตัวอยู่เสมอ เสมือนหนึ่งว่าผี และพุทธ เป็นจุดเชื่อมโยง ที่ร่วมกันสร้างโลกทัศน์ให้ชาวล้านนา โดยที่จะมีรูปแบบเฉพาะของตนเอง โดยที่เรามักจะเห็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องของในขณะที่มีการเลี้ยงผีปู่ แสะย่าแสะ ก็จะต้องขึงภาพพระบฏเพื่อเป็นสัญลักษณ์การมาถึงของพระพุทธเจ้าด้วย
ซึ่งคำจำกัดความของคำว่า ผี เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา โดยที่จะมีลักษณะเป็นวิญญาณ ที่เป็นศักดิ์สิทธิ์ หรือจะตีความว่าเป็นเทวดาอารักษ์ที่คอยทำหน้าที่ในการดูแล และคุ้มครองคน และสถานที่ ให้ปมีความลอดภัยปราศจากสิ่งชั่วร้ายได้นั่นเอง ดังนั้น ผี ในโลกทัศน์ของชาวล้านนา จึงไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัว หรือรูปลักษณ์ที่ไม่ดี ที่ไม่ได้มาคอยหลอกหลอนคน ให้เกิดความกลัว เกิดความสับสน แต่ความรู้สึกที่มีต่อ ผี จะเป็นเหมือนมิตร ที่จะคอบสร้างความอุ่นใจให้กับผู้อยู่อาศัย ที่จะนึกถึงในช่วงเวลาสำคัญ แต่ถึงอย่างไร ผี ที่มีความเชื่อในแบบฉบับของคนล้านนา ก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไปตามในแต่ละสถานที่ที่ดูแล เช่น ผีเสื้อเมืองหรืออารักษ์เมือง จะเป็นผู้ดูแลเมือง ส่วนผีเสื้อบ้านก็จะมีหน้าที่ในการปกป้องดูแลหมู่บ้านเป็นต้น อีกทั้งยังมีผีที่คอยดูแลคนในครอบครัวโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นความสัมพันธ์ในแบบฉบับเครือญาติเดียวกัน หรือตั้งต้นว่าอยู่ในฐานะที่เป็นผีบรรพบุรุษ ที่จะคอยดูแลคนภายในครอบครัวนั่นเอง
ถึงแม้ว่ายุคสมัยจะผ่านมานานเพียงใด โลกจะมีการเปลี่ยนแปลง และเดินหน้าไปในทิศทางไหน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับผียังคงมีสายใยเชื่อมโยงกันอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะชาวล้านนา ที่จะยังรักษาประเพณีต่างๆ เอาไว้ได้อย่างยาวนาน เพราะความเชื่อเรื่องผีถูกผนวกกลืนเข้าสู่จารีตประเพณีของชาวล้านนามาช้านาน ดังเช่น ความเชื่อในเรื่องเสียผี เกี่ยวกับสาวล้านนาที่ถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ชาย ฉะนั้นฝ่ายชายจะต้องทำการใส่ผีให้กับฝ่ายหญิงทันที ซึ่งความเชื่อดังกล่าวที่มีการแสดงออกมาถึง จะเป็นการบ่งบอกถึงพื้นฐานของสังคม การใช้ชีวิต และวัฒนธรรม ที่ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องของ “ผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่า” เป็นอย่างมากนั่นเอง แม้กระทั่งการแสดงออกถึงความกตัญญู และเคารพยำเกรงต่อผีปู่ย่า ชาวล้านนาจะจัดพิธีฟ้อนผีขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงหน้าแล้ง (มีนาคม – มิถุนายน) เพื่อถวายเครื่องเซ่นสังเวยให้กับผีปู่ย่าประจำแต่ละตระกูล ที่ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นพิธีการที่มีความสำคัญต่อชาวล้านนาเป็นอย่างมาก